fiber optic cable
Knowledge

สายใยแก้วนำแสง คืออะไร

สายใยแก้วนำแสง

หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า สายไฟเบอร์ออฟติก ( Fiber Optic Cable ) คือสายสัญญาณที่ผลิตมาจากแก้วและหุ้มด้วยใยพิเศษที่ป้องกันการกระแทกและฉนวน โดยมีคุณสมบัติเหมือนเป็นท่อเพื่อส่งสัญญาณแสงจากต้นทางไปยังปลายทาง และมีอุปกรณ์ที่ต้นทางและปลายทางทำหน้าที่แปลงสัญญาณแสงเป็นสัญญาณข้อมูลเพื่อนำไปใช้งาน สายใยแก้วนำแสงจะมีต้นทุนที่ต่ำมากและส่งข้อมูลได้เป็นปริมาณมากๆ ซึ่งด้วยคุณสมบัติดังกล่าวทำให้ถูกนำมาใช้เพื่อส่งข้อมูลในโครงข่ายคอมพิวเตอร์ (Network) และสื่อสารข้อมูล เนื่องจากการส่งข้อมูลผ่านสายไฟเบอร์ออฟติก ( Fiber Optic ) นั้น สามารถส่งได้ในระยะทางไกล และสามารถส่งข้อมูลได้ในปริมาณที่สูงตามขนาดของ Bandwidth ที่รองรับได้ อีกทั้งยังไม่มีผลกระทบจากคลื่นสัญญาณรบกวนทางไฟฟ้าอีกด้วย จึงทำให้ในปัจจุบันมีการนำสายใยแก้วนำแสงมาใช้งานกันอย่างแพร่หลาย แทนสายชนิดเก่าที่เป็นสายที่ทำจากตัวนำชนิดทองแดงที่มีราคาสูง

สายใยแก้วนำแสง ที่นิยมใช้กันสามารถแยกได้ 2 ชนิดดังนี้

1. ชนิด Singlemode
2. ชนิด Multimode

สายใยแก้วนำแสง หรือสายไฟเบอร์ออฟติกนั้นจะมีชั้นของแก้วแยกออกเป็น 2 ส่วน โดยส่วนของท่อแก้วด้านนอกเรียกว่า Cladding และส่วนของท่อแก้วด้านในที่เป็นตัวลำเลียงส่งสัญญาณเรียกว่า Core ท่อแก้วชั้นที่เป็น Cladding เป็นตัวป้องกันสัญญาณแสงไม่ให้วิ่งออกมาจากส่วน Core ของสายใยแก้วนำแสง สำหรับสายใยแก้วนำแสงทั้งสองชนิดข้างต้นจะมีขนาดของ Cladding ที่เท่ากัน โดยมีเส้นผ่าศูนย์กลางอยู่ที่ 125 ไมครอนเมตร โดยมีรายละเอียดดังนี้

  1. ชนิด Singlemode (SM) สำหรับสายใยแก้วนำแสงชนิดนี้ จะมีเส้นผ่าศูนย์กลางของ Core ขนาด 9 ไมครอนเมตร และ Cladding ขนาด 125 ไมครอนเมตร ตามลำดับ เมื่อ Core มีขนาดเล็กมาก ทำให้ลำแสงเดินทางค่อนข้างเป็นเส้นตรง และเกิดการสูญเสียน้อยลง จึงทำให้สามารถส่งข้อมูลจำนวนมาก ๆ ได้อย่างรวดเร็ว และสามารถส่งไปได้ไกลเป็นหลายสิบกิโลเมตร ซึ่งจากข้อดีดังกล่าว จึงทำให้นิยมนำมาใช้เป็นโครงข่ายเพื่อเชื่อมต่อระหว่างสถานีหลักของโครงข่ายสื่อสาร ซึ่งมีการเชื่อมโครงข่ายกันระหว่างจังหวัด หรือระหว่างภาค โดยความยาวคลื่นแสงที่ใช้ในการส่งข้อมูลจะส่งในช่วง 1300 นาโนเมตร (nm) หรือ 1500 นาโนเมตร (nm)

2. ชนิด Multimode (MM) สำหรับสายใยแก้วนำแสงชนิดนี้มีเส้นผ่าศูนย์กลางของ Core ขนาด 62.5 ไมครอนเมตร สำหรับมาตรฐาน OM1 และขนาด 50 ไมครอนเมตรสำหรับมาตรฐาน OM2, OM3 และ OM4 โดย สายใยแก้วนำแสง Multimode ทั้งหมดจะมี Cladding ขนาด 125 ไมครอนเมตร และเนื่องจาก Core มีขนาด ใหญ่ ทำให้แสงที่เดินทางสามารถกระจัดกระจาย ทำให้แสงเกิดการหักล้างกัน และมีการสูญเสียของแสงมากกว่าสายใยแก้วนำแสงชนิด Singlemode จึงทำให้สามารถส่งข้อมูลได้ในระยะทางที่สั้นกว่า โดยความยาวคลื่นที่ใช้ในการส่งข้อมูลจะส่งในช่วง 850 นาโนเมตร (nm) หรือ 1300 นาโนเมตร (nm) ดังนั้นสายใยแก้วนำแสงชนิดนี้ส่วนใหญ่จะถูกนำมาใช้ส่งสัญญาณภายในอาคารซึ่งมีระยะไม่ไกล

สายใยแก้วนำแสง หรือ สายไฟเบอร์ออฟติก (Fiber Optic cable) สามารถจำแนกตามลักษณะการใช้งานได้อย่างไร

1. Tight Buffer เป็น สาย Fiber Optic สำหรับเดินภายในอาคาร (Indoor)
โดยมีการหุ้มฉนวนประเภท PVC หรือ LSZH อีกชั้นหนึ่งให้มีความหนา 900 ไมครอนเมตร เพื่อให้สะดวกในการใช้งาน และช่วยป้องกันสายใยแก้วนำแสงไม่ให้แตกหักในการติดตั้ง โดยสายชนิดนี้จะมีจำนวน Core ของสายใยแก้วนำแสงไม่มากนัก เช่น 4, 6 หรือ 8 Cores นอกจากนี้ยังมีสายที่ใช้เชื่อมต่อภายในอาคารที่มีการเข้าหัวคอนเน็คเตอร์ (Fiber Connector) จำนวน 1 Core หรือ 2 Cores ซึ่งเราจะเรียกว่าสาย Fiber Optic ที่เข้าหัวคอนเน็คเตอร์ว่า Fiber Optic Patch Cord ซึ่งสำหรับสาย Fiber Optic Patch Cord 1 Core จะนิยมเรียกว่าสาย Fiber Optic Patch Cord แบบ Simplex และสำหรับสาย 2 Cores จะนิยมเรียกว่าสาย Fiber Optic Patch Cord แบบ Duplex


2. Loose Tube เป็น สาย Fiber Optic ที่ออกแบบมาใช้สำหรับเดินภายนอกอาคาร (Outdoor) โดยจะมีโครงสร้างของเปลือกหุ้มสายภายนอกที่แข็งแรงทนต่อสภาพแวดล้อม และจะมีการใส่เยลกันน้ำเข้าไป เพื่อป้องกันน้ำซึมเข้าไปภายในสาย นอกจากนี้ยังสามารถจำแนกสายแบบ Outdoor ตามลักษณะการใช้งานย่อยลงไปได้อีกดังนี้

2.1 Duct Cable เป็นสาย Fiber Optic แบบร้อยท่อ เป็นสายที่ใช้สำหรับติดตั้งในท่อConduit
2.2 Direct Burial เป็นสาย Fiber Optic ที่ออกแบบมาให้สามารถใช้ฝังดินได้ โดยไม่จำเป็นต้องร้อยท่อ โดยโครงสร้างของสายจะมีส่วนของ Steel Armored ที่ช่วยเป็นเกราะป้องกัน และเพิ่มความแข็งแรงให้กับสาย
2.3 Figure 8 เป็นสาย Fiber Optic ที่ใช้ในการแขวนบนอากาศโดยโยงระหว่างเสาแต่ละต้น โดยจะมีส่วนที่เป็นลวดสลิงทำหน้าที่รับแรงดึง และประคองสาย  จึงทำให้สายมีรูปร่างหน้าตัดคล้ายเลข 8 จึงเรียกว่า Figure 8
2.4 ADSS (All Dielectric Self Support)  เป็นสาย Fiber Optic ที่สามารถใช้แขวนบนอากาศโดยโยงระหว่างเสาแต่ละต้นได้ โดยไม่จำเป็นต้องใช้ลวดสลิงช่วย เนื่องจากโครงสร้างของสายประเภทนี้ได้ถูกออกแบบให้สามารถช่วยประคองสายได้ด้วยตัวของสายเอง และยังเป็นสายที่ไม่มีส่วนที่นำไฟฟ้าได้ ดังนั้นจึงทำให้มีความปลอดภัยในกรณีที่จำเป็นต้องนำไปติดตั้งใกล้กับสายไฟฟ้า

 

3. สายแบบ Indoor/Outdoor เป็น สาย Fiber Optic ที่สามารถใช้ได้ในกรณีที่จำเป็นต้องเดินสายทั้งภายนอก และภายในอาคาร ซึ่งคุณสมบัติพิเศษที่เพิ่มมาในสายชนิดนี้เรียกว่า Low Smoke Zero Halogen (LSZH) ดังนั้นเมื่อเกิดอัคคีภัยขึ้น สายชนิดนี้จะก่อให้เกิดควันน้อย และควันไม่เป็นพิษ เมื่อเทียบกับ Jacket ของสายชนิดอื่น ที่จะก่อให้เกิดควัน และเป็นมลพิษ

การดูแลรักษาสายใยแก้วนำแสง อย่างไรดี

การดูแลรักษาสายใยแก้วนำแสง (Optical Fiber) เป็นสิ่งสำคัญเพื่อให้ระบบสื่อสารทำงานอย่างเสถียรและมีประสิทธิภาพ นี่คือบางขั้นตอนที่ควรทำเพื่อดูแลรักษาสายใยแก้วนำแสง:

  1. การรักษาความสะอาด: การรักษาความสะอาดของสายใยแก้วนำแสงมีความสำคัญ เนื่องจากความสกปรกสามารถทำให้สัญญาณแสงเสียหาย ใช้เครื่องมือที่เหมาะสมเช่นล้างคราบเชื้อเพลิงอย่างสะอาดเพื่อล้างความสกปรกหรือฝุ่นออกจากผิวของสายใยแก้วนำแสง
  2. การตรวจสอบและป้องกันการหักหรืองอเบี้ยว: ตรวจสอบสายใยแก้วนำแสงเพื่อตรวจสอบว่ามีการหักหรืองอเบี้ยวหรือไม่ การบิดเบี้ยวหรือหักขาดอาจส่งผลกระทบต่อสัญญาณแสง และสามารถทำให้สายใยแก้วนำแสงเสียหายได้ การตรวจสอบเป็นระยะ regular เพื่อป้องกันและระบุปัญหาได้ทันที
  3. การป้องกันอุบัติเหตุ: การป้องกันอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นกับสายใยแก้วนำแสง เช่น การกระแทก การงอ หรือการไหลของน้ำ เป็นสิ่งสำคัญ เลือกสถานที่ติดตั้งและป้องกันเสียงตัวซึ่งมีความแข็งแรงและป้องกันตัวอื่น ๆ จากการเข้าถึงอย่างไม่เหมาะสม
  4. การตรวจสอบและป้องกันความชื้น: การตรวจสอบและรักษาสภาพแวดล้อมเพื่อป้องกันความชื้นสำหรับสายใยแก้วนำแสง เนื่องจากความชื้นสูงอาจทำให้เกิดความชำรุด ควรใช้การระบายความชื้นและการรักษาสภาพแวดล้อมให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมสำหรับสายใยแก้วนำแสง
  5. การตรวจสอบการเชื่อมต่อ: ตรวจสอบการเชื่อมต่อสายใยแก้วนำแสงเพื่อให้แน่ใจว่ามันไม่มีความต่ำกว่าหรือสูงกว่าเกณฑ์และเสถียรภาพของการเชื่อมต่อ
  6. การรักษาความเย็น: สายใยแก้วนำแสงมักจะต้องอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เย็น เมื่อมีความร้อนสูงเกินไปอาจทำให้สายใยแก้วนำแสงเสียหาย ควรใช้ระบบระบายความร้อนอย่างเหมาะสมและป้องกันการระเบิดเพื่อรักษาสายใยแก้วนำแสง

การดูแลรักษาสายใยแก้วนำแสงเหล่านี้จะช่วยให้ระบบสื่อสารทำงานอย่างมีประสิทธิภาพและเสถียร ลดความเสียหายและเพิ่มอายุการใช้งานของสายใยแก้วนำแสงในระยะยาว

fiber-optic-cable-photo

สินค้าประเภทสายไฟเบอร์ออฟติกหรือ สายใยแก้วน้ำแสงของเรานั้นมีให้เลือกมากมายและมีหลากหลายประเภทเพื่อให้เหมาะกับคุณ โดยสามารถเลือกชนิดของหัวและความยาวของสายได้ เพื่อความสะดวกสบายในแต่ละพื้นที่ หากไม่มั่นใจว่าต้องใช้สายอย่างไรประเภทไหน สามารถติดต่อผ่านทางเบอร์โทรของเรา หรือเลือก Fiber optic cable ผ่านทางเว็ปไซต์ได้ทันที แล้วเราจะมีเจ้าหน้าที่ติดต่อกลับไป

7 thoughts on “สายใยแก้วนำแสง คืออะไร

  1. ณฐ พรรณรังษี says:

    เป็นบทความที่น่าสนใจมากครับ

    1. administrator says:

      ขอบพระคุณมากๆครับ สอบถามรายละเอียดได้ครับ

      1. อภิรัฐ รอดฉ่ำ says:

        ต้องการเดินสายไฟเบอร์ ระยะทาง 120 ม. สายไฟเบอร และ ตัวแปลงจากระบบแลนด์เป็นไฟเบอร จากไฟเบอรเป็นระบบแลนด์ ต้องซื้ออะไรมั่งครับ และ TX คืออะไร RX คืออะไร

        1. ALFABASE says:

          ต้องใช้ Media Converter เป็นตัวแปลงสัญญาณ และหากระยะทางไกลก็ใช้สาย Singlemode Fiber แต่หากระยะทางใกล้ก็ใช้สาย Multimode Fiber ส่วน TX หมายถึง Transmit Signal และ RX หมายถึง Receive Signal

        2. Gus says:

          RX TX คือการส่งสัญญาณไปกลับครับ

  2. Tanakron says:

    ระยะทางใกล้ ไม่เกิน 300 เมตร สามารถ ใช้ Single mode ได้รึเปล่าครับ?

    1. ALFABASE says:

      สามารถส่งได้ แต่ต้องดูว่าตัวรับ-ส่งสัญญาณเหมาะที่จะส่งบนสาย Singlemode หรือ Multimode ขึ้นอยู่กับความยาวคลื่นที่ส่ง ระยะทาง และความเร็วในการส่ง โดยต้องดูว่าสัญญาณรับส่งแรงไปหรือเปล่า หากแรงไปอาจจะจำเป็นต้องใช้ตัวลดทอนสัญญาณช่วยครับ

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

2 × 4 =

This site is protected by reCAPTCHA and the Google Privacy Policy and Terms of Service apply.

The reCAPTCHA verification period has expired. Please reload the page.